วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

>> ตัวอย่างแบบทดสอบเพื่อทดสอบนักเรียน ระดับประถม

@ รวมฮิตทุกสาระประถม http://www.takesa1.go.th/~sanpalarn/test%20final/content.htm

@ วิทยาศาสตร์ประถม http://www.krukim.com/test%20sci/indextest.html

Leia Mais

>> มีงานพิมพ์หนังสือ เอกสาร ใบปลิว โปสเตอร์ ติดต่อ

@ โรงพิมพ์การพิมพ์.คอม  ส่งงานแบบออนไลน์  มีความชัดเจนเรื่องราคาดีมาก http://www.kanpim.ob.tc/

Leia Mais

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

>> ทางรถไฟเชื่อม เอเซีย-ยุโรป (อยากเดินทางไปเที่ยวแบบนี้เด้ครับ)

@ ได้เป็นเห็นแผนที่การเดินทางรถไฟเชื่อม เอเซียและยุโรป อยากนั่งไปบ้างจังเลยครับ สงสัยจะใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน แต่คงไม่มีโอกาสหรอก คงได้แค่ฝัน http://www.unescap.org/ttdw/common/TIS/TAR/images/tarmap_latest.jpg

และก็อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Trans Siberian ได้ที่เว็บนี่ครับ http://www.zone-it.com/forum/index.php?topic=90818.0

@ ส่วนลิงค์นี้ เป็นข้อมูลการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยรถไฟ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=254555

Leia Mais

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

>> แก้ปัญหา Format แฟลชไดรว์ไม่ได้

@ ถ้าแฟลชไดร์วคือไดร์ว f พิมพ์ว่า Format f:/fs:Fat32  ได้เลยครับ อ้างอิงจากเว็บ http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3c544cc6932942b6&hl=th&table=%2Fguru%2F%3Ftab%3Di2%26hl%3Dth

Leia Mais

>> บ้านเรือนไทย ในฝัน

@ เอามาจากเว็บ blog ของคุณครูศุภวัฒน์ ครับ http://www.kroobannok.com/blog/18858
ได้สักหลังก็คงจะดีนะครับ








@ บ้านเรือนไทยอิสาน http://www.homeloverthai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=55&Itemid=75







@ บ้านแบบ Modern สวย ๆ http://www.lakegarden.com/ บ้านทรงไทยประยุกต์ http://www.pd.co.th/v3/th/model_detail.php?s_id=118

@ หลังนี่ก็สวยครับ http://www.konbaan.com/Detail&form/Detail/NHome-detail.php?main=yes&id=10555

Leia Mais

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

>> โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน (ของโรงเรียนในฝัน)

๑). โปรแกรมเรียนรู้เกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้า โปรแกรม Crocodile Clips ๓
๒). ฝึกการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โปรแกรม Scratch
๓). โปรแกรมสร้างโน้ตเพลงตามหลักดนตรีสากล โปรแกรม Canorus
๔). ชุดเกมการศึกษา ๘ หมวดหมู่ เหมาะสำหรับนักเรียน ๒-๑๐ ขวบ โปรแกรม GCompris ลิงค์ http://www.gcompris.net
๕). โปรแกรมฝึกวาดภาพระบายสี โปรแกม ArtRage ลิงค์ http://www.ambientdesign.com
๖). โปรแกรมฝึกพิมพ์ ภาษาอังกฤษ Tux Typing
๗). โปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็คทรอนิก I Love Library ลิงค์ http://www.ilovelibrary.com

Leia Mais

>> หลักสูตรการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)ระดับประถมศึกษา

@ ผมได้ค้นหาหลักสูตรคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จึงได้ทำลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรคอมพิวเตอร์ กันตัวผมเองลืมครับ

http://www.prescottschools.com/curric_computer_lit_9-12.pdf

http://www.psdnet.org/curriculum/Middle%20School/Technology%20Ed/Computer%20Literacy%20Grade%208.pdf

www.editlib.org/d/11863/proceeding_11863.pdf

อันนี้ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
http://www.uni.illinois.edu/library/computerlit/ProjectCatalog.pdf

อันนี้เด็ดครับ เกี่ยวกับ Information Literacy
http://www.sioux-city.k12.ia.us/pages/uploaded_files/Info.%20Literacy%20Curriculum%20Framework%20FINAL%204-08.pdf

อันนี้เป็น Instruction
http://uso.edu/network/workforce/able/reference/policies/ComputerLiteracyInstruction.pdf

หลักสูตรการศึกษาของประเทศเนปาล เมื่อปี ๒๐๐๕
http://librarykvpattom.files.wordpress.com/2009/06/ncf-nepal.pdf

หลักสูตรเกี่ยวกับ Computer Literacy ของประเทศไหนก็ไม่รู้
http://state.tn.us/education/ci/computer/compliteracy.pdf

ตัวอย่างแบบบันทึกประเมินผลการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ ของรัฐ OHIO สหรัฐอเมริกา
http://state.tn.us/education/ci/computer/compliteracy.pdf
ลิงค์เพิ่มเติมได้ที่นี้ http://literacy.kent.edu/

งานวิจัยด้าน Computer Literacy
http://www.ejmste.com/032006/d9.pdf
http://www.ctdlc.org/Evaluation/Basic_Computer_Literacy_Report.pdf  โดยนำมาจากลิงค์ http://www.toodoc.com/computer-literacy-ebook.html

บทความนักการศึกษาต่อ Computer Literacy
http://delivery.acm.org/10.1145/1360000/1352423/p231-liao.pdf?key1=1352423&key2=3836852221&coll=ACM&dl=ACM&CFID=15151515&CFTOKEN=6184618

หลักสูตรของรัฐ แคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา
http://www.ictliteracy.info/rf.pdf/California%20ICT%20Assessments%20and%20Curriculum%20Framework.pdf

เปรียบเทียบหลักสูตรคอมพิวเตอร์ระดับประถม ของไทยและเทศ
http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/media/curri_compare.pdf

ส่วนอันนี้ของไทยเราครับ ของ สพท.นครปฐม เขต ๑
http://gotoknow.org/file/pai1toon85/view/106199
http://gotoknow.org/file/pai1toon85/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7..doc

Leia Mais

>> โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ

@ งบ sp๒ เฉพาะส่วนที่ข้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ
http://school.obec.go.th/techno/firt_sp2/ ตัวอย่างคุณลักษณะเฉพาะ คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ดนตรีและการแสดง คุณลักษะเฉพาะครุภัณฑ์ห้องคณิตศาสตร์

Leia Mais

>> ความจริงเขาพระวิหาร รัฐบาลควรแก้ปัญหาได้แล้ว

@ การแก้ปัญหาเขาพระวิหาร ในห้วงเวลานี้ ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำ ที่มีคนของพรรคประชาธิปัตย์เป็น "นายกรัฐมนตรี"

@ พรรคประชาธิปัตย์ในสมัยที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน เคยแสดงคัดค้านการแก้ปัญหาเขาพระวิหาร ของรัฐบาลนายกสมัคร และนายกสมชาย ว่าไม่ถูกต้อง เป็นการแก้ปัญหาที่จะทำให้ไทยเสียดินแดน จนถึงขนาดกล่าวหาคนที่ทำงานตรงนั้นว่า "ขายชาติ ขายแผ่นดิน" ซึ่งความรู้สึกของผมเวลานั้น คิดว่าประชาธิปัตย์ คงมีดีอะไรแน่ ๆ จึงได้บอกมาอย่างนั้น

@ เวลาล่วงเลยไป จน พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล นับจนถึงวันนี้แล้ว ก็ ๙ เดือน ก็ไม่เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์จะทำอะไร ทำอย่างใด เพื่อแก้ปัญหาเขาพระวิหารดังกล่าว ให้สมกับกึ๋นของตัวเอง ปล่อยไว้จนให้ประชาชนต้องได้มาทะเลาะกันเอง และทำร้ายกันเอง  เมื่อบ่ายวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๒ ที่ผ่าน ณ บริเวณทางขึ้นเขาพระวิหาร





@ อยากบอกพรรคประชาธิปัตย์ และท่านนายกอภิสิทธิ์ ว่า "ได้เวลาแสดงกึ๋นแก้ปัญหาเขาพระวิหารแล้วครับ"

Leia Mais

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

>> คนสวย ยังไงก็สวย ก็ได้แค่ชื่นชมนะครับ



ก็แค่ชื่นชมสิ่งสวย ๆ งาม ๆ นะครับ

Leia Mais

>> นี่มันเวลางานนะ !!!!!!!!!!!!!!!!!








 

 

Leia Mais

>> ซอฟแวร์ที่ผมศึกษาใช้งานจริง เกิดผลจริง ๆ ต่องานที่ทำ (แบบไม่ใช้ศึกษาเพื่อรู้ เพื่อเท่ห์)

"เรียนรู้หมื่นกระบวนท่าในครั้งเดียว ไม่น่ากลัวเท่าเรียนกระบวนท่าเดียวหมื่นครั้ง" คำคมจากหนังเรื่องหนึ่ง
----------------------------------------------

@ มันตรงกับที่ผมทำและปฏิบัติอยู่ งานและหน้าที่ที่ผมทำอยู่หนีไม่พ้นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีหลายเรื่องที่ศึกษา หลายเรื่องที่ศึกษาแล้วมาปฏิบัติ ซึ่งเหลวก็เยอะ แต่มีบ้างเรื่องที่ศึกษาได้พบคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะการใช้งานที่ง่าย ประสิทธิภาพสูง เรื่องดังกล่าวก็คือ เรื่องซอฟแวร์ที่ใช้กับงานในหน้าที่ของผม

@ มีซอฟแวร์อยู่ ๒ ตัวที่เป็น Open Source ที่ผมนำมาใช้และใช้งานได้ดี ๒ ตัวครับ



-- ๑). ซอฟแวร์ทำงานเกี่ยวกับ gateway ใช้ในปัจจุบันและใช้มานานแล้วคือ pfSense เป็นซอฟแวร์ที่หน้าที่เกี่ยวกับ การให้บริการเป็นทางผ่านคอมพิวเตอร์ในระบบเราเข้าสู่อินเตอร์เน็ต พัฒนามาจาก FreeBSD โดยนำซอฟแวร์หลาย ๆ ตัวมารวมกัน ผมใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้ ยอมรับว่า ดีมากครับ




-- ๒). ซอฟแวร์เกี่ยวกับเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย คือ FreeNAS เป็นซอฟแวร์ที่เส้นทางการพัฒนาเหมือน pfSense แต่จุดประสงค์การใช้งานคนล่ะแบบ ใช้งานง่าย เก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ดีมาก ติดตั้งง่ายเหมือนกันกับ pfSense


@ ทั้งสองตัวที่กล่าวถึง มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงมาก เป็นซอฟแวร์ที่ผมได้ศึกษาและนำมาใช้งานจริง ๆ ไม่เหมือนกับที่ผ่านมา ที่เพียงได้สัมผัสก็ทำให้รู้สึกว่าดีแต่นำมาใช้งานจริง คง "เกิด" ได้ยาก ทำไมหรือ ก็โรงเรียนที่ผมสอนเป็นโรงเรียนประถม จะหาซอฟแวร์ยาก ๆ มาใช้งานที่โรงเรียนกับนักเรียนประถมที่คลิ๊กอุดตะลุดนะหรือ ฮึ ฮึ คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ต้อง บำรุงทุกอาทิตย์นะครับ

@ เราเน้นใช้งานจริง ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อเอาโก้ เอาเท่ห์ ครับ "เรียนรู้หมื่นกระบวนท่าในครั้งเดียว ไม่น่ากลัวเท่าเรียนกระบวนท่าเดียวหมื่นครั้ง" สวัสดีครับ.

Leia Mais

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

>> 3 ปี หลังการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 การกระทำที่หยุดไทยย้ำอยู่กับที่

3 ปีแห่งการปฏิวัติ หายนะแห่งประเทศไทย




Leia Mais

>> ลีดเดอร์ชิพ..ต่ำ

ต้องไปอ่านดูเองครับ http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=174 และบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เป็นบทความที่แรงและหนัก แต่ใช้คำที่ง่าย ๆ กันเอง แต่แรงครับ http://www.vattavan.com/newslist.php?cat_id=4&scat_id=12



Leia Mais

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

>> ถ้าผมจะวัดและประเมินผล ของนักเรียนในโรงเรียนอย่างนี้ได้หรือเปล่า

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ มีมาตรฐานเป็นตัวกำกับในการพัฒนานักเรียน ในจัดการเรียนการสอน จัดการเรียนรู้
--------------------------------------

@ ผู้บริหารสถานศึกษาจะบริหารสถานศึกษายังไงก็ได้ ที่จะให้นักเรียนได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร อาจจะไม่ต้องบริหารตามรูปแบบดั้งเดิมก็ได้

@ การพัฒนานักเรียนก็ไม่เฉพาะแค่ครูสอนตามหนังสือเพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายถึง ๑). การเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องลูกเสือ ห้องพระพุทธศาสนา ห้องภาษาอังกฤษ ฯลฯ ๒). การเรียนรู้ผ่านสื่อหรือเทคโนโลยีทางการศึกษาต่าง ๆ  เช่น ผ่านโทรทัศน์ ผ่านหนังสือ ผ่านเอกสารอ่านประกอบ ผ่านป้ายนิเทศ ผ่านแผ่นความรู้ ฯลฯ ๓). การเรียนรู้ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง

@ ซึ่งจากการเรียนรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังกล่าว จะเข้าสู่การวัดและประเมินผลที่ผมคิด ดังนี้ครับ
-- ๑). ครูให้นักเรียนทราบถึงมาตรฐานที่นักเรียนควรจะได้ จะเป็น จะเข้าใจ แล้วครูสอนนักเรียนในห้อง ตามกำหนดการสอน ตามมาตรฐานดังกล่าว
-- ๒). ครูประเมินนักเรียน ผ่านครึ่งห้อง อีกครึ่งห้องไม่ผ่าน
-- ๓). นักเรียนไปเรียนรู้ตามช่องทางต่าง ๆ ที่กล่าวถึง แล้วนักเรียนมาแจ้งครูว่าจะขอทดสอบเพื่อประเมินตนเองว่าผ่านมาตรฐาน สอบปรากฎว่าไม่ผ่าน
-- ๔). ภาคเรียนที่ ๑ ผ่านไปเข้าสู่ภาคเรียนที่ ๒ นักเรียนกลับมาขอทดสอบอีกครั้ง เพราะตนเองได้ไปศึกษา เรียนรู้มาแล้ว ปรากฎว่าผ่าน
-- ๕). นักเรียนเข้าสอบปลายปี นำคะแนนที่เรียกว่า ระหว่างเรียน มารวมกับคะแนนปลายปี แล้วครูก็ตัดสินผลการเรียนนักเรียน

@ ผมว่าวิธีการวัดและประเมินผลแบบนี้น่าจะเหมาะกับหลักสูตร ๕๑ นี้มากกว่า ไม่ใช่ว่าสอนเสร็จแล้วก็วัดนักเรียนแล้วก็ประเมินว่าไม่ผ่าน ทำให้ผู้เรียนตกมาตรฐานตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว โดยทีผู้เรียนยังไม่เรียนรู้เลย และที่สำคัญมาตรฐานที่กำหนดไว้นั้น ให้ผู้เรียนในเวลา 1 ปี

@ การวัดและประเมินผล แบบนี้ยังสอดคล้องกับนักเรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนได้จัดขึ้นอย่างแท้จริง

@ ผมจึงขอเสนอแนวคิดการวัดและประเมินผลในมุมมองของผม ดังกล่าว ว่าสามารถทำได้หรือเปล่า.

Leia Mais

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

>> หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ .. รุ่งอรุณการศึกษาอย่างแท้จริง

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ ความสมบูรณ์แบบ จาก หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔

@  โรงเรียนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดเทศบาล สังกัด อบจ. อบต. สังกัดมหาวิทยาลัย ฯลฯ ที่เปิดสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือเปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.๑ - ม.๖ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไปต้องใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ โดยเริ่มใช้ใน ป.๑ - ป.๖, ม.๑ และ ม.๔

@ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ ผมขอเรียกว่า หลักสูตร ๕๑ เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔ โดยพัฒนาปรับปรุงแก้ไขจาก ข้อด้อย สิ่งที่เป็นปัญหาต่าง ๆ มากมายจากหลักสูตร ๔๔ จนทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาการศึกษามากมาย กระบวนการใช้หลักสูตรหลาย ๆ อย่างให้โรงเรียนต้องดำเนินการ ปฏิบัติตามยถากรรม ส่งผลให้ภาพพจน์การศึกษาในห้วงที่ผ่านมาเกิดคำถามมากมายจากสังคม

@ หลังจากผมได้มีโอกาสสัมผัสหลักสูตร ๕๑ (โรงเรียนที่ผมอยู่เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตร ๕๑) เกิดความชัดเจน เห็นภาพของการพัฒนาการศึกษาได้ชัดเจนขึ้น บางอย่างกำหนดมาจากส่วนกลาง บางอย่างให้โรงเรียนดำเนินการเอง ตัวชี้วัดตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาเข้าใจง่าย ทำให้ครูผู้สอน ต้องทำหน้าทีว่า "ทำอย่างไรก็ได้ให้นักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบได้มาตรฐานหลักสูตรการศึกษา" การเรียนการสอนตามหลักสูตร ๕๑ ต้องเรียนรู้จากหลากหลายสื่อ ไม่ใช่เฉพาะแค่หนังสือ เพราะเรามุ่งเน้นให้นักเรียนได้ตามมาตรฐานที่กำกับไว้

@ หลักสูตร ๔๔ เป็นตัวรองส่งลูกให้หลักสูตร ๕๑ ยิงลูกเข้าประตู แค่นี้ก่อนครับ ติดธุระเดี๋ยวมาเขียนต่อนะครับ.

Leia Mais

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

>> สิ่งที่ได้รับจาก "การประชุมวิชาการวิจัยการศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓"

@ เมื่อวันที่ ๑๐ และวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการ "การวิจัยการศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓" ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร


@ วันแรก พิธีเปิดโดยท่าน รมว.ศึกษาธิการ ท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ได้บรรยายถึงการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ก็ได้เข้าใจถึงสิ่งที่การศึกษาจะเดินไปในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ ๒ สั้น ๆ ว่า "โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม" 
@ หลังจากท่าน รมว. บรรยายจบ ก็เป็น รมว.ช่วยว่าการ ศธ. ท่านได้บรรยายบ้าง จับประเด็นสำคัญได้ คือ ๑). การวิจัยที่ไม่ใช่แค่เอกสาร แต่เป็นการวิจัยที่มุ่งพัฒนานักเรียน มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้การวิจัยมีประโยชน์ต่อการพัฒนามิใช่ แค่ประโยชน์ให้รู้ว่าฉันทำวิจัย ฉันเก่งวิจัย และ ๒). วาทะที่แสดงมุมมองการศึกษา "การศึกษาคือสิ่งที่หลงเหลืออยู่จาการเรียนการสอน"
@ ต่อไปเป็นประเด็นความรู้ที่ได้รับจากการเข้าฟังการนำเสนอ ตามห้องย่อยต่าง ๆ มี ๓ ประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ตอบคำถามที่ค้างคาใจ
@ ๑). ความต่างของการวิจัยการศึกษา และการวิจัยชั้นเรียน การวิจัยการศึกษามุ่งเน้นการหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาในวงกว้าง มีการสรุปและอ้างอิงสู่กลุ่มประชากร คนที่วิจัยอาจไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน อาจไม่ใช่นักการศึกษาก็ได้ สามารถนำไปใช้ในกลุ่มประชากรได้และรับรองผลในการนำไปใช้ตามค่านัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการวิจัยชั้นเรียน มุ่งพัฒนา แก้ปัญหาในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนรับผิดชอบ แก้ปัญหาในวิชาที่ครูผู้สอนรับผิดชอบ วิธิการ รูปแบบ กระบวนการในการนำมาพัฒนา แก้ปัญหานักเรียนนั้น เกิดจากความเชื่อ ประสบการณ์ หรือความคิดว่า วิธีการ รูปแบบ กระบวนการนี้น่าจะพัฒนา แก้ปัญหานักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบได้ หากนำไปใช้ที่อื่นไม่รับรองผลว่าจะพัฒนา แก้ปัญหาได้ อาจจะได้ หรือไม่ได้ก็ได้ ผู้ที่วิจัยต้องเป็นครูผู้สอนเท่านั้น ... เกิดประโยชน์ต่อผมในการทำวิจัยครับ ทำให้ผมทราบถึงอาณาเขตในการทำการวิจัยของผม ว่าอยู่ในอาณาเขตใด ทำให้การวิจัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
@ ๒). การวิจัยการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรม สองตัวนี้ผมยังสับสน ยังแยกความแตกต่างไม่ออก เพราะเวลาไปอ่านหรือไปดูตัวอย่าง โดยทั่วไปก็เหมือน ๆ กัน จะแตกต่างก็ตรงชื่อ ว่างานนี้นะ เป็นงานวิจัย ว่างานนี้นะเป็นงานพัฒนานวัตกรรม แต่พอได้นั่งฟัง ฟังไปฟังมา ก็ได้เห็นความแตกต่าง สรุปได้ว่า "การวิจัยการศึกษา..สู่..การพัฒนานวัตกรรม" ครับสั้น ๆ แค่นี้ล่ะครับ หรืออีกแบบก็ได้ครับ "นวัตกรรมคือการพัฒนา การพัฒนาจากความรู้ ความรู้ที่ได้จากการวิจัย" ชัดเจนครับสำหรับผม
@ ๓). กระบวนการพัฒนานวัตกรรม ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญว่านวัตกรรมเรานี้มี "คุณภาพ" เพียงใด เราจึงนำนวัตกรรมของเราไปลองดูว่า มี "ประสิทธิภาพ" เพียงใด โดยนำไปทดลองใช้ กับ 1 คน ปรับปรุง แล้วนำไปทดลองใช้กับ 3-5 คน ปรับปรุง นำไปทดลองใช้กับ 10-20 คน ปรับปรุง นำไปทดลองใช้กับ กลุ่มตัวอย่างประชากรต่าง ๆ แล้ว ปรับปรุง เมื่อแน่ใจว่ามัน มี "ประสิทธิภาพ" จริง ๆ เราจึงนำไปใช้ในวงกว้างได้เลย และผมยังคิดต่ออีกว่า ระดับของนวัตกรรม ก็แบ่งได้เป็น "นวัตกรรมการศึกษา" และ "นวัตกรรมชั้นเรียน"
ครับ ทั้งหมดเหล่านี้คือสิ่งที่ผมได้รับจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ "การวิจัยทางการศึกษาแห่งชาติครั้งที่ ๑๓".

Leia Mais