วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

>> สิ่งที่ได้รับจาก "การประชุมวิชาการวิจัยการศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓"

@ เมื่อวันที่ ๑๐ และวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการ "การวิจัยการศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓" ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร


@ วันแรก พิธีเปิดโดยท่าน รมว.ศึกษาธิการ ท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ได้บรรยายถึงการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ก็ได้เข้าใจถึงสิ่งที่การศึกษาจะเดินไปในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ ๒ สั้น ๆ ว่า "โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม" 
@ หลังจากท่าน รมว. บรรยายจบ ก็เป็น รมว.ช่วยว่าการ ศธ. ท่านได้บรรยายบ้าง จับประเด็นสำคัญได้ คือ ๑). การวิจัยที่ไม่ใช่แค่เอกสาร แต่เป็นการวิจัยที่มุ่งพัฒนานักเรียน มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้การวิจัยมีประโยชน์ต่อการพัฒนามิใช่ แค่ประโยชน์ให้รู้ว่าฉันทำวิจัย ฉันเก่งวิจัย และ ๒). วาทะที่แสดงมุมมองการศึกษา "การศึกษาคือสิ่งที่หลงเหลืออยู่จาการเรียนการสอน"
@ ต่อไปเป็นประเด็นความรู้ที่ได้รับจากการเข้าฟังการนำเสนอ ตามห้องย่อยต่าง ๆ มี ๓ ประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ตอบคำถามที่ค้างคาใจ
@ ๑). ความต่างของการวิจัยการศึกษา และการวิจัยชั้นเรียน การวิจัยการศึกษามุ่งเน้นการหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาในวงกว้าง มีการสรุปและอ้างอิงสู่กลุ่มประชากร คนที่วิจัยอาจไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน อาจไม่ใช่นักการศึกษาก็ได้ สามารถนำไปใช้ในกลุ่มประชากรได้และรับรองผลในการนำไปใช้ตามค่านัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการวิจัยชั้นเรียน มุ่งพัฒนา แก้ปัญหาในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนรับผิดชอบ แก้ปัญหาในวิชาที่ครูผู้สอนรับผิดชอบ วิธิการ รูปแบบ กระบวนการในการนำมาพัฒนา แก้ปัญหานักเรียนนั้น เกิดจากความเชื่อ ประสบการณ์ หรือความคิดว่า วิธีการ รูปแบบ กระบวนการนี้น่าจะพัฒนา แก้ปัญหานักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบได้ หากนำไปใช้ที่อื่นไม่รับรองผลว่าจะพัฒนา แก้ปัญหาได้ อาจจะได้ หรือไม่ได้ก็ได้ ผู้ที่วิจัยต้องเป็นครูผู้สอนเท่านั้น ... เกิดประโยชน์ต่อผมในการทำวิจัยครับ ทำให้ผมทราบถึงอาณาเขตในการทำการวิจัยของผม ว่าอยู่ในอาณาเขตใด ทำให้การวิจัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
@ ๒). การวิจัยการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรม สองตัวนี้ผมยังสับสน ยังแยกความแตกต่างไม่ออก เพราะเวลาไปอ่านหรือไปดูตัวอย่าง โดยทั่วไปก็เหมือน ๆ กัน จะแตกต่างก็ตรงชื่อ ว่างานนี้นะ เป็นงานวิจัย ว่างานนี้นะเป็นงานพัฒนานวัตกรรม แต่พอได้นั่งฟัง ฟังไปฟังมา ก็ได้เห็นความแตกต่าง สรุปได้ว่า "การวิจัยการศึกษา..สู่..การพัฒนานวัตกรรม" ครับสั้น ๆ แค่นี้ล่ะครับ หรืออีกแบบก็ได้ครับ "นวัตกรรมคือการพัฒนา การพัฒนาจากความรู้ ความรู้ที่ได้จากการวิจัย" ชัดเจนครับสำหรับผม
@ ๓). กระบวนการพัฒนานวัตกรรม ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญว่านวัตกรรมเรานี้มี "คุณภาพ" เพียงใด เราจึงนำนวัตกรรมของเราไปลองดูว่า มี "ประสิทธิภาพ" เพียงใด โดยนำไปทดลองใช้ กับ 1 คน ปรับปรุง แล้วนำไปทดลองใช้กับ 3-5 คน ปรับปรุง นำไปทดลองใช้กับ 10-20 คน ปรับปรุง นำไปทดลองใช้กับ กลุ่มตัวอย่างประชากรต่าง ๆ แล้ว ปรับปรุง เมื่อแน่ใจว่ามัน มี "ประสิทธิภาพ" จริง ๆ เราจึงนำไปใช้ในวงกว้างได้เลย และผมยังคิดต่ออีกว่า ระดับของนวัตกรรม ก็แบ่งได้เป็น "นวัตกรรมการศึกษา" และ "นวัตกรรมชั้นเรียน"
ครับ ทั้งหมดเหล่านี้คือสิ่งที่ผมได้รับจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ "การวิจัยทางการศึกษาแห่งชาติครั้งที่ ๑๓".

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น